สร้างบ้านอย่างไรให้บ้านเย็น!! มาดูวิธีสร้างบ้านเย็น ช่วยประหยัดพลังงานด้วยโครงสร้าง ผนังบ้านเย็น ใครกำลังจะสร้างบ้านห้ามพลาด

จะสร้างบ้านอย่างไรให้บ้านเย็นสบาย มาทำความรู้จักวิธี สร้างบ้านเย็น ด้วยโครงสร้างผนังบ้านเย็นกัน

สวัสดีเพื่อน ๆ ที่กำลังวางแผนอยากสร้างบ้านในอนาคต ด้วยประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนที่เรียกว่าอากาศร้อนทั้งปีเลยก็ว่าได้ถึงจะมีด้วยกัน 3 ฤดูด้วยกันแบ่งเป็น ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันทำให้อากาศบ้านเรานั้นยิ่งร้อนขึ้นมากหรือจะพูดว่ามี 3 ฤดูคือ ร้อน ร้อนที่สุด และร้อนตับแตกก็ว่าได้ ยิ่งช่วงเดือนเมษา-พฤษภาคม คือร้อนปลอดแตกแบบที่ค่าดัชนีรังสี UV พร้อมจะทำลายชั้นผิวหนังของทุกคนเพียงก้าวออกจากบ้าน จึงทำให้การอยู่บ้านนั้นดูจะเป็นวิธีที่ดีมากกว่าการออกไปสู้แดด นอกจากหลังหลังคาบ้านที่อยู่ด้านบแล้ว ผนังบ้านก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่รับแสงแดดเป็นเวลานานและรับแสงแดดโดยตรงเช่นกัน การสร้างบ้านด้วยโครงสร้างผนังที่ป้องกันความร้อนนั้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เพื่อน ๆ สามารถทำได้เพื่อช่วยทำให้ผนังบ้านนั้นเย็นจากภายในบ้าน และยังสามารถป้องกันความร้อนจากด้านนอกที่จะเข้ามาภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วย วันนี้โกดังแบบบ้านจึงขอนำเกล็ดความรู้วิธี สร้างบ้านเย็น มาให้เพื่อน ๆ ได้ทำความรู้จักกันสำหรับท่านที่กำลังจะสร้างบ้านห้ามพลาดเลยเพราะวิธีนี้จะเป็นการ สร้างบ้านเย็น ตั้งแต่โครงสร้างบ้านกันเลยที่จะทำให้บ้านของเรานั้นเย็นจากภายในและป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้านจากภายนอก ดังนั้นวันนี้จะมาทำความรู้จักโครงสร้าง ผนังบ้านเย็นกัน

โครงสร้างผนังบ้านเย็น

เนื้อหา

 

ทำความรู้จักโครงสร้าง ผนังบ้านเย็น 2 ชนิด

โครงสร้างผนังบ้านสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือโครงสร้างผนังก่ออิฐฉาบปูนและโครงสร้างผนังเบา ซึ่งทั้ง 2 โครงสร้างเองก็มีขั้นตอนการสร้างและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปตามวัสดุนั่นเอง
1. ผนังก่ออิฐ
ผนังที่เป็นส่วนหนึ่ง ของงานโครงสร้าง เป็นผนังที่เกิดจากการก่ออิฐและฉาบทับหน้าด้วยปูน หรืออาจจะไม่ฉาบก็ได้ โดยอิฐที่ใช้ในการก่อผนัง บางครั้งจะมีการเรียกผนังก่ออิฐ สั้นๆว่า ผนังก่อ หรือ ผนังหนัก เนื่องจากมีน้ำหนักที่หนัก โดยจะใช้อิฐในการก่อผนัง มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ อิฐมอญ, อิฐมวลเบา, อิฐขาว, อิฐบล็อก, อิฐประสาน

2. ผนังโครงคร่าว หรือผนังโครงเบา
เป็นผนังที่เกิดจากการวางโครงคร่าวไม้ หรือโครงคร่าวเหล็ก และนำเอาแผ่นบอร์ด เช่น แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นยิปซั่ม หรือไม้อัดซีเมนต์ มาใช้นการทำเป็นแผ่นผนัง โดยมักจะใช้กับผนังภายในมากกว่าภายนอก เนื่องจากเป็นผนังที่เป็นโครงคร่าว มีความแข็งแรงน้อยกว่าผนังอิฐและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของานโครงสร้าง

ผนังบ้านเย็น-01

โครงสร้างผนังแบบไหนทำให้บ้านเย็นได้

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักโครงสร้างผนังบ้านทั้ง 2 ชนิดแล้ว เรามาดูกันว่าผนังบ้านแบบไหนที่จะช่วย สร้างบ้านเย็น ให้กับเราได้ด้วยโครงสร้างผนังทั้ง 5 แบบ
1.ผนังก่ออิฐฉาบปูน
เป็นผนังที่ก่ออิฐแถวเดียวและฉาบด้วยปูนทั้ง 2 ด้าน โดยมีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร แม้จะหาซื้อได้ง่าย แต่อิฐมอญก็มีข้อเสียคือน้ำหนักที่มากและการสะสมความร้อนที่สูง ซึ่งอิฐจะถ่ายเทความร้อนไปสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่านั่นก็คือห้องภายในบ้าน ทดสอบค่ากันความร้อน R=0.3 (m2 k/w)
ผนังบ้านเย็น-03
2.ผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์
เป็นแผ่นผนังที่ติดไว้ด้านนอกทับโครงเคร่าภายใน ผนังมีความบางทำให้ความร้อนสามารถเข้ามาภายในบ้านได้มาก นิยมใช้กับภายในบ้านมากกว่าภายนอกเหมาะสำหรับการต่อเติมเช่นการกั้นห้อง ทดสอบค่ากันความร้อน R=0.5 (m2 k/w)
ผนังบ้านเย็น-04
3.ผนังก่ออิฐมวลเบาฉาบปูน
ผนังอิฐมวลเบาเป็นหนึ่งวัสดุที่นิยมใช้มากขึ้นในปัจจุบันเพราะมีขนาดก้อนที่ใหญ่ ทำให้งานเสร็จเร็ว ทั้งยังป้องกันความร้อนได้ดีกว่าวัสดุอิฐประเภทอื่นๆ และเนื้ออิฐที่มีรูพรุนกระจายอยู่ทั่วถึง 75% ช่วยให้อิฐมีน้ำหนักเบาและเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดีทดสอบค่ากันความร้อน R=0.76 (m2 k/w)
ผนังบ้านเย็น-05
4.ผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ผนังเบานั้นมีลักษณะโครงสร้างที่ภายในเป็นโครงเคร่าปิดด้วยแผนผนัง ซึ่งทำให้ภายในมีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการติดตั้งฉนวนกันความร้อน ดังนั้นผนังเบาหุ้มฉนวนกันความร้อนจึงมีคุณสมบัติที่ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนได้ดีมากขึ้นทดสอบค่ากันความร้อน R=2.212 (m2 k/w)
ผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว

5.ผนังก่ออิฐฉาบปูน+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว+แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์

ผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปมีความกันความร้อนที่ต่ำ ทำให้มีการสะสมและถ่ายเทความร้อนเข้ามาสู่ภายในมาก การติดตั้งโครงเคร่าผนังเบาที่มีการหุ้มฉนวนกันความร้อน นอกจากจะช่วยเพิ่มความหนาของผนังให้มากขึ้นแล้ว ยังสามารถลดการถ่ายเทความร้อนเข้ามาสู่ภายในได้ดีขึ้นด้วย และทดสอบค่ากันความร้อน R=2.23 (m2 k/w)
ผนังก่ออิฐฉาบปูน+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว+แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์

สรุปโครงสร้างผนังบ้านแบบไหนกันความร้อนได้ดีที่สุด หรือผนังบ้านแบบไหนเย็นที่สุด

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับโครงสร้างของผนังทั้ง 5 แบบแล้ว เราสามารถจัดลำดับผนังบ้านที่มีความสามารถในการกันความร้อน โดยการเรียงลำดับด้วยการคำนวนค่ากันความร้อน(ค่าR) จากการทดสอบค่ากันความร้อนของวัสดุชนิดต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างผนังบ้านแต่ละแบบอ้างอิงจาก One Stock Home ทำให้ได้ลำดับโครงสร้างผนังที่กันความร้อนที่สุดหรือ ผนังบ้านเย็น ที่สุดตามลำดับนี้
1.ผนังก่ออิฐฉาบปูน+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว+แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์
2.ผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์+ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
3.ผนังก่ออิฐมวลเบาฉาบปูน
4.ผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์
5.ผนังก่ออิฐฉาบปูน

ลำดับผนังบ้านเย็น

ซึ่งค่าความสามารถในการกันความร้อนของผนังนี้ จะสังเกตได้ว่าหากผนังมีวัสดุที่กันความร้อนและมีความหนาที่มากขึ้นก็จะช่วยให้ความสามารถในการป้องกันการถ่ายเทความร้อนได้ดีขึ้น การออกแบบผนังบ้านในทิศที่ต้องโดนแดดมากๆหรือโดนแดดตลอดทั้งวันอย่างทิศตะวันตกและทิศใต้ให้มีความหนาและมีการติดตั้งฉนวนเพิ่มเติม นอกจากจะกันความร้อนได้ดีแล้วยังช่วยป้องกันเสียงรบกวนได้ดีด้วย เป็นยังไงกันบ้างกับเกล็ดความรู้เรื่องโครงสร้าง ผนังบ้านเย็น ที่โกดังแบบบ้านได้นำมาฝากในบทความนี้หวังว่าจะช่วยเป็นความรู้และทางเลือกให้กับการเลือกผนังในการ สร้างบ้านเย็น ให้กับทุกคนได้มีบ้านที่เย็นจากภายในตั้งแต่โครงสร้างเพื่อช่วยในการบรรเทาความร้อนจากด้านนอกบ้านที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีและมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการมีบ้านที่เย็นจะช่วยให้เราประหยัดพลังงานและช่วยโลกของเราได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

โกดังแบบบ้าน เว็บไซต์ที่รวมผลงานออกแบบบ้านหลายสไตล์ไว้เป็นไอเดียในการสร้างบ้านให้กับเพื่อนๆ ทั้งแบบบ้านชั้นเดียว/แบบบ้าน2ชั้น/แบบบ้านชั้นครึ่ง/แบบบ้านสามชั้น/บ้านมินิมอล/บ้านนอร์ดิก บ้านทรงไทย/บ้านประยุกต์/บ้านคลาสสิค/บ้านวินเทจ/บ้านสมัยใหม่/แบบบ้านสำเร็จรูป และยังมีบริการรับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้านตามความต้องการ เขียนแบบบ้านตามงบประมาณ ถอดละเอียด BOQ เอกสารแบบขออนุญาตก่อสร้าง วิศวกรเซ็นแบบ คำนวณราคาบ้านเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจในการสร้างบ้านหรือต้องการทราบราคาบ้านเบื้องต้นสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ คำนวณราคาบ้านเบื้องต้น และติดต่อออกแบบบ้านสอบถามราคาเขียนแบบบ้านเพิ่มเติมที่นี่ รับออกแบบบ้าน

ปุ่มดูแบบบ้านเพิ่มเติม ปุ่มติดต่อทำแบบบ้าน
Scroll to Top